วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

ตอบคำถามอาจารย์ชวน ภารังกูล

การจัดนวัตกรรมและสารสนเทศ (1036703)

อาจารย์ชวน ภารังกูล






คำถาม จากบริบทและแนวโน้มทางการศึกษาของโรงเรียนเราจะมีวิธีการจัดการพัฒนาระบบสารสนเทศมาใช้ในโรงเรียนได้

อย่างไร


ตอบคำถามอาจารย์ค่ะ...จากนางนริศรา ลีลา(519180233)



                      ระบบสารสนเทศระบบพื้นฐานของการนำงานต่างๆ ในรูปแบบของการเก็บ(Input) การจัดการ(Procssing) การเผยแพร่(Output) และมีส่วนเก็บข้อมูล(Srorage)องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ คือ ฮาร์ทแวร์ ซอฟต์แวร์ มนุษย์ กระบวนการ ข้อมูล เครือข่าย
                      ระบบสารสนเทศในองค์กรในปัจจุบันมีความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐบาลหรือเอกชนโดยอาศัยกระบวนข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่ ทำให้เกิดสารสนเทศนี้เรียกว่า การประมวลผลสารสนเทศ (Information Technology ) และเรียกวิธีการประมวลผลสารสนเทศด้วยเครื่องมือทางอิเล็กทอนิกส์นี้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มาของเทคโนโลยี คือ
                     ข้อมูล(Data) หรือข้อมูลดิบ หมายถึง ข้อมูลจริงหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดจากอักษรหรือสัญลักษณ์ก็ได้ ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความถูกต้องแม่นยำ และเป็นปัจจุบัน เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ คะแนนของนักเรียน รายงาน บันทึก ฯลฯ
                      เทคโนโลยี(Technology) หมายถึง การนำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์
                      สารสนเทศ(Information) หมายถึง ข่าวสารที่ได้จากการนำข้อมูลดิบทางสถิติหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งข้อมูลข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในงานได้ทันที

1. งานวิชาการ โดยการจัดหาข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์ เทคโนโลยีที่ทันสมัยเผยแพร่ให้บุคคลในโรงเรียนชุมชนบ้านแม่ต้าน(ราษฎรบำรุง) และบุคคลภายนอกได้ทราบถึงการทำงานของโรงเรียน ดังนี้
1. กำหนดรหัสวิชาหลัก วิชาย่อยพร้อมกับรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อวิชา คาบการเรียน และหน่วยกิต
2. กำหนดแผนการเรียน/หลักสูตร ในแต่ละชั้น แต่ละภาคการศึกษาที่มีการเปิดการเรียนการสอน
3. กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ของในแต่ละสาระการเรียนรู้ ตามช่วงชั้นที่เปิดสอน
4. กำหนดรายละเอียดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายวิชาพร้อมทั้งคะแนนเต็มในแต่ละผล
5. กำหนดรายละเอียดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และการอ่านคิด วิเคราะห์ และเขียนสื่อความพร้อมเกณฑ์การประเมิน
6. กำหนดอาจารย์ผู้สอนในแต่ละวิชา แต่ละชั้นห้อง
7. พิมพ์รายชื่อนักเรียนที่ลงทะเบียน และไม่ลงทะเบียนเรียน
8. พิมพ์ใบแจ้งผลการลงทะเบียนเรียน

2. งานแผนและงบประมาณ เป็นการนำเอาข้อมูล ระบบ ทรัพยากรมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด นำมาใช้ในโรงเรียนชุมชนบ้านแม่ต้าน(ราษฎรบำรุง) ดังนี้

1. สามารถบันทึกรายละเอียดโครงการ โครงงาน และงบประมาณตั้งรับ ตั้งจ่ายได้ ไม่จำกัดจำนวน
2. สามารถจัดทำเอกสาร งบประมาณโครงการ โครงงาน จากระบบได้ พร้อมระบบการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร
3. แสดงงบประมาณที่จัดตั้งไว้ ประจำปีแยกตามฝ่าย แผนก หน่วยงาน และผู้รับผิดชอบ
4. มีระบบการตรวจสอบรายการรับ-จ่าย ในแต่ละโครงการ หรือแต่ละงานได้
5. สามารถตรวจสอบข้อมูลการเบิก-จ่ายได้ถึงระดับการเบิก-จ่ายแต่ละรายการ
6. สามารถตรวจสอบข้อมูลด้านงบประมาณได้ทั้งระดับฝ่าย แผนก และหน่วยงาน ในด้านการวิเคราะห์และเปรียบเทียบ
7. รายงานวิเคราะห์ การเบิกจ่ายของแต่ละฝ่าย หน่วยงาน และผู้รับชอบ
8. แสดงข้อมูลตรวจสอบ และเปรียบเทียบกับฝ่ายจัดซื้อ
9. สรุปค่าใช้จ่าย เปรียบเทียบกับงบประมาณที่ตั้งไว้
10. มีการจัดเก็บข้อมูลงบประมาณของปีก่อนหน้านี้ สำหรับใช้ในการเปรียบเทียบ

3. งานบุคคล จัดระบบเครื่องมือที่ทันสมัยเพื่อมาใช้ในการสร้างหรือพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งบุคลากรของโรงเรียนชุมชนบ้านแม่ต้าน(ราษฎรบำรุง)ให้มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับสถาบันอื่นๆ ดังนี้

1. บันทึก/แสดงประวัติข้อมูลบุคลากร ( ผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานของโรงเรียน )
2. พิมพ์บัญชีรายชื่อบุคลากร ประวัติและข้อมูลสารสนเทศด้านสถิติต่างๆเช่น ระดับการศึกษา อายุ ศาสนา เป็นต้น
3. สามารถจัดทำข้อมูลด้านการพัฒนาบุคลากร เช่น ข้อมูลการฝึกอบรม สามารถบันทึก รายงานและสรุปจำนวนชั่วโมงพร้อมทั้งแสดงผลประวัติการฝึกอบรมที่ผ่านมาได้
4. บันทึกข้อมูล ความสามารถพิเศษ, พฤติกรรม และการรักษาพยาบาลของบุคลากร
5. จัดทำข้อมูลการมาทำงาน พร้อมรายงานสถิติการมาทำงาน การขาด ลา มาสาย กลับก่อนเวลา พร้อมรายงานแสดงสถิติในรูปแบบต่างๆ
6. รายงานสรุปการมาทำงาน เป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายงานประจำเดือน
7. รายงานเงินเดือน สลิปเงินเดือน และภาษี ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด. 1 ก รวมทั้ง ใบสรุป ภ.ง.ด. 91
8. รายงานวิเคราะห์เงินเดือน ใบหักภาษี ณ ที่ต่างๆ รวมทั้งรายงานภาษีสิ้นปี
9. รายงานประกันสังคม, รายงาน สช.
10. บัตรประจำตัวครู
11. ใบรับรองการทำงานและรายได้

4. งานบริหารทั่วไป การนำเอาระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้และจัดระบบที่ทันสมัยให้เพียงพอหรือให้มีมาตรฐานดีขึ้นเป็นที่ยอมรับดังนี้

1. บันทึกรายการรับหนังสือเข้า หนังสือออก หนังสือคำสั่ง และหนังสือทั่วไป
2. ค้นหารายละเอียดเอกสาร โดยระบุหน่วยงานภายนอก ภายใน แยกตามความสำคัญ สถานภาพเอกสารได้อย่างชัดเจน
3. แสดงสถานะ การดำเนินงานตามเอกสารได้
4. สามารถออกรายงานหนังสือต่างๆ ได้ เช่น ตามช่วงวันที่เริ่มต้น - สิ้นสุด ที่กำหนดในการรับหนังสือจากหน่วยงานที่ออกหนังสือ หน่วยงานที่รับหนังสือตามประเภทความสำคัญ หรือตามสถานะของหนังสือได้
5. บันทึกรายการตอบรับ และปรับสถานะ ตามหนังสือที่ได้รับ ตามชื่อหรือฝ่ายต่างๆ
6. ทำหนังสือจดหมายเวียนต่างๆ ภายในโรงเรียน

วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2552